หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่างๆประกอบด้วยส่วนย่อยสามส่วนสำคัญคือ ส่วนการตรวจสอบ (Perception)ส่วนประเมินผล (Cognition) และส่วนทำงาน (Action) ส่วนสุดท้ายนี้บางครั้งมีการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหวที่ละเอียดซับซ้อนอันน่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่ขอให้เข้าใจว่าหากไม่มีข้อมูลจากส่วนตรวจสอบและการทำงานของส่วนประมวลผลแล้ว ก็ยากที่จะทำงานได้ตามที่เราเห็นได้เลย
นักวิจัยหุ่นยนต์ใช้คำว่า “เซ็นเซอร์” แทนอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ ข้อมูลที่วัดมาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลปฐมภูมิเช่น แรงดัน อุณหภูมิ แก๊สพิษ และระยะการเคลื่อนที่เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังปรากฏว่ามีการตรวจสอบไปถึงข้อมูลทุติยภูมิที่บันทึกไว้ล่วงหน้า เช่น การเช็กรายละเอียดการผลิตและการซื้อขายสินค้าผ่านระบบแถบระหัส (Bar Codes) ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายประการ จึงมีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นคือ อาร์เอฟดี ( RFID: Radio Frequency Identification) ที่กำลังมีบทบาทอย่างยิ่งและมีแนวโน้วการใช้งานสูงทั้งในภาครัฐและภาคพาณิชย์อุตสาหกรรม เช่น การคมนาคมผ่านรถไฟลอยฟ้า รถไฟใต้ดิน แอร์พอตลิงก์ ระบบการติดตามกระเป๋าและสัมภาระผู้โดยสารที่สนามบินใหญ่ๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ การค้า-ขาย อุตสาหกรรมผลิต ระบบรักษาความปลอดภัย งานทะเบียนประวัติ และแม้กระทั่งการติดตามผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี 2551 ตลาดทางด้านอาร์เอฟไอดี จะมีมูลค่ารวมกันทั่วโลกสูงถึง 124,000 ล้านบาท ผมเห็นว่าระบบดังกล่าวกำลังจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ แต่เนื่องจากประเทศไทยมิได้เป็นผู้คิดหรือเจ้าของเทคโนโลยีนี้โดยตรง จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการลงทุน ผมเคยรับเชิญไปให้ความเห็นทางเทคนิคและการจัดการเทคโนโลยีแก่คณะกรรมการของบริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐหลายแห่ง และได้พบว่าการลงทุนของหน่วยงานต่างๆเหล่านั้นโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” โดยไม่ได้คำนึงช่วงชีวิต (Life Cycle) ของเทคโนโลยีนั้น เมื่อถึงเวลาต้อง “อัปเกรด(Upgrade)” จึงต้องใช้งบประมาณมากเกินความจำเป็น บางครั้งมากกว่าการลงทุนครั้งแรกเสียอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น