หุ่นยนต์บำบัด
ความผิดปกติทางด้านออฺธิสติกส์ (Autistic Disorders) มีอัตราเกิดขึ้นในเด็กถึง 1 ใน 300 คน อาการที่ปรากฏชัดของเด็กออธิสติกส์คือ การที่เขาขาดความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาทิ หลีกเลี่ยงหรือมีการสบตาน้อย ขาดความเข้าใจในท่าทางและการแสดงออกทางหน้าตา การใช้คำพูดตะกุกตะกัก ประสบความยากลำบากในการรับรู้เจตนาและความรู้สึกของผู้ใกล้ชิด ท่านที่มีบุตรหลานที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติจึงน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนี้การตรวจอาการดังกล่าวใช้เพียงการสังเกตเชิงพฤติกรรมเท่านั้น ยังไม่มีการตรวจเลือดหรือตรวจสอบทางยีนส์แม้ว่าจะมีหลักฐานทางแพทย์ว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจจากเด็กๆทั่วไปรวมทั้งกลุ่มเด็กออธิสติกส์ หลายหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศจึงริเริ่มทดลองนำหุ่นยนต์มาเป็นตัวสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หลายคนเชื่อว่าหุ่นยนต์ของเล่นให้ความเป็นกันเองและความ “อุ่นใจ” ต่อเด็กๆมากกว่าผู้ใหญ่รอบข้างเสียอีก ผมเคยสังเกตเด็กป่วยที่ต้องไปหาคุณหมอบ่อยๆในวัยเด็กจะเกิดความระแวงเมื่อเห็นผู้ใหญ่เล่นด้วยและยิ้มให้ คงเป็นเพราะคุณหมอเหล่านั้นต้องหลอกล่อเล่นกับเด็กจนเพลินเสียก่อนแล้วจึงทิ่มเข็มฉีดยา เด็กบางคนถึงกลับวิ่งอ้อมไปดูด้านหลังผู้ใหญ่ที่ยืนยิ้มเอามือไพล่หลังอยู่เพราะกลัวว่าในมือมีเข็มฉีดยาอยู่ มีการศึกษา ของ Rogers & Pennington, 1991 และ Baron-Cohen, 1995 กล่าวถึงสาเหตุของออธิสติกส์ว่าอาจเกิดจากขบวนการเลียนแบบและการแสดงอารมณ์ร่วมในวัยต้นของเด็กเล็กนั้นไม่สมบูรณ์แบบ การเลียนแบบถือเป็นลักษณะการสื่อสารประเภทหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสนใจและการเข้าหาผู้อื่นจนไปกึงการมีปฎิสัมพันธ์ (Nadel, 1999)
หุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้ถูกสร้างให้ฉลาดพอที่จะเข้าใจพฤติกรรมของเด็กและสามารถตอบสนองและกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงออก ที่จริงหุ่นยนต์ของเล่นปัจจุบันเปิดโอกาสให้เด็กผู้เล่นสวมบทบาท “กำกับ” คือสามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ตามจินตนาการของตน ดังนั้นเราจึงได้เห็นเด็กออธิสติกส์ที่เงียบขรึมอยู่กับโลกส่วนตัวคนเดียวเริ่มเล่นกับหุ่นยนต์เช่นเดียวกันกับเด็กปกติเล่น อย่างไรก็ตามบทผู้กำกับที่ผมกล่าวถึงอาจจะสูงไปในขั้นต้น นักวิจัยใช้เพียงการกำหนดให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางอย่างง่ายๆ ก็ได้รับผลที่น่าพอใจยิ่งเพราะเด็กออธิสติกส์แสดงท่าทางเลียนแบบ เราหวังว่าเมื่อเขาตอบสนองกับหุ่นยนต์ได้ดีเหมือนกับเด็กทั่วไป สภาวะแวดล้อม “อุ่นใจ” ร่วมกับหุ่นยนต์นี้คือกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่อาจไขปริศนาบางอย่างอันอาจทำให้อาการผิดปกตินั้นทุเลาลงจนเขาสามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นได้ดีขึ้น แนวความคิดคือให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางซ้ำๆกระตุ้นความสนใจ “การเลียนแบบ” ของเด็ก หุ่นยนต์ที่ใช้ชื่อ Robota
หุ่นยนต์ก่อสร้าง
บริษัทโอบายาชิเคยให้ผมไปดูงานด้านการใช้หุ่นยนต์เพื่อการก่อสร้างอาคารสูงๆให้เสร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว ชื่อระบบหุ่นยนต์คือ “Big Canopy” เน้นงานสร้างอาคารที่มีรูปร่างพื้นที่หน้าตัดเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ทำให้การสร้างแต่ละชั้นมีระบบและขั้นตอนทำงานที่แน่นอน จึงเป็นการง่ายที่เราจะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและกลไกการทำงาน ตลอดจนการควบคุมเวลาและคุณภาพก็ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อเสร็จสิ้นในแต่ละชั้นแล้วก็เดินหน้าทำซ้ำอย่างเดียวกันในชั้นต่อๆ ไป อีกตัวอย่างหนึ่งคือ หุ่นยนต์แต่งผิวคอนกรีต (Concrete Surface Treatment Robot) ขนาดประมาณโต๊ะทำงานของเรา มีขีดความสามารถแต่งผิวได้ถึง 80 ตารางเมตรต่อชั่วโมง ดูดซับน้ำได้มากกว่าหนึ่งลิตรต่อหนึ่งตารางเมตร โดยปั๊มสุญญากาศความดัน -400 mmHg ที่สำคัญไม่มีสายไฟฟ้าระโยงระยางเกะกะการทำงานเพราะถูกควบคุมในลักษณะไร้สายเป็นระยะถึง 50 เมตร ประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์ก่อสร้าง นับถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาขึ้นมาใช้งานประยุกต์กว่า 17 ประเภท 1,000 กว่าระบบ ตัวอย่างประเภทงานที่ได้ใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์มีดังนี้ การขุดดิน วางฐานราก ระบบเครนส่งของ การสร้างเขื่อน งานคอนกรีต อุโมงค์ลอดใต้ภูเขา การเคลือบผิวผนัง งานใต้พื้นผิวสมุทร โครงสร้างเหล็ก งานเก็บรายละเอียด ชิ้นส่วนสำเร็จรูป งานเทพื้นผิว ระบบลมเพื่อการขุดเจาะ งานสำรวจ การตรวจสอบ งานบำรุงรักษา และเทคนิคอื่นๆ เช่น การทำเกราต์ซ่อมรอยแตกร้าวต่างๆ ปัจจัยสำคัญที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ก่อสร้างนั้น ผมเห็นว่านอกเหนือจากความสามารถทางเทคโนโลยีแล้ว คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยเคารพกฎหมายและกติกาสังคม ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี โอกาสเห็นรถบรรทุกทำเศษดินตกเกลื่อนถนนหาได้ยากมาก หรือจะโดนจับปรับไปก่อนไม่อาจรู้ได้ วัสดุและอุปกรณ์อยู่เป็นที่เป็นทาง โปรแกรมระบบหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้งานจึงไม่ซับซ้อนมากนัก คล้ายๆกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่อาจกล่าวได้ว่าความชาญฉลาด (Intelligence) อยู่ในระดับต่ำ เพราะมีตัวจับชิ้นงาน (Jig/Fixtures) ช่วยให้หุ่นยนต์รู้ว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นอยู่ตรงไหนบ้างโดยไม่จำเป็นต้องมีกล้องคอยส่องดูเลย และเป็นการเขียนโปรแกรมไว้ล่วงหน้าเลยเกือบทั้งนั้นครับ หากนำระบบหุ่นยนต์ก่อสร้างเช่น Big Canopy มาใช้งานในสภาพแวดล้อมงานก่อสร้างของไทยที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบเท่าใดนัก เราคงต้องดัดแปลงมากพอสมควร อย่างน้อยก็ต้องมีความเป็น “ปัญญาประดิษฐ์” มากขึ้น หรือต้องมีระบบเซ็นเซอร์ที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาด หากมองในแง่ดีผมถือว่าเป็นการต่อยอดด้านความรู้ ทำให้หุ่นยนต์ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้อง “ฉลาด” กว่าตอนที่เขาอยู่ที่ประเทศอื่น เห็นข้อดีเช่นนี้เป็นจริงดังคำท่านเจ้าคุณพุทธทาสว่าไว้ “..ในน้ำขุ่นมีน้ำใส ไม่หลอกหนอ ในสงสารมีนิพพานอยู่มากพอ...” ความสะเพร่ามักง่ายในงานก่อสร้างทำให้เกิดการสูญเสียโดยไม่จำเป็น ครั้งหนึ่งผมแทบเอาชีวิตไม่รอด ขับรถชนปูนกั้นกลางถนนที่บริษัทรับเหมาทำระบบกำจัดน้ำเสียวางไว้โดยไม่มีไฟเตือนเลย เกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายซ้ำกับผู้อื่นจึงโทรไปบอกเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ก็ไม่ยอมแก้ไขอะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบตอนที่ผมยังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ต้องเดินทางโดยรถไฟทุกวันจากใจกลางเมืองไปตำบลอูจิ ตลอดระยะเวลาสองปีผมไม่เคยรู้เลยว่ามีการสร้างรถไฟใต้ดินอีกสายอยู่ใต้ดิน ไม่มีการรบกวนกระทบกระเทือนถึงกิจกรรมปกติของประชาชนทั่วไปที่สัญจรไปมา จนอาทิตย์สุดท้ายก่อนผมจะลาจากญี่ปุ่นเพื่อไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา มีการเปิดใช้งานสายใหม่โดยระยะเวลาสลับปิดสายเก่าทิ้งแล้วใช้สายใหม่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนเท่านั้น ต้องยอมรับว่าเขา..แน่จริงๆ ครับ ประเด็นการจัดการและการพัฒนาเทคโนโลยีในงานก่อสร้างรวมถึงหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องนั้น มีการหารืออย่างจริงจังจนเกิดอุตสาหกรรมขึ้น เรื่องนี้ต้องยกให้เป็นผลงานของสมาคมวิศวกรโยธาแห่งญี่ปุ่น (JSCE) และ สถาบันสถาปนิกของญี่ปุ่น (AIJ) นอกจากเรื่องทางเทคนิคแล้ว สองหน่วยงานนี้ยังเป็นหัวหอกศึกษาไปข้างหน้าผลบวกและลบของเทคโนโลยีต่ออุตสาหกรรม สังคมและประชากรจะเป็นเช่นไรบ้าง ผมทึ่งที่เห็นสองหน่วยงานนี้ผลิตงานวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ และผลลัพภ์ก็ได้สร้างงานการค้าและอุตสาหกรรมมากมาย ขอตบท้ายด้วยการเปิดตัวหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ในงานก่อสร้าง สร้างโดยบริษัทคาวาดา หุ่นยนต์ตัวนี้ชื่อ HRP-3P สูง 160 ซม. หนัก 65 กก. สามารถเดินบนผิวน้ำแข็ง หรือภายใต้ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักหน่วงได้ แต่ยังทำงานแบบ Remote Control อยู่ หุ่นยนต์ตัวนี้ทำให้คนงานหลายคนกลัวว่าจะตกงาน แต่ผมเชื่อว่าอีกนานกว่าจะทำงานแทนคนได้ทั้งหมดครับ
หุ่นยนต์กับระบบการผลิตอย่างอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม การทำวิจัยที่ต้องไปรังแกและทำร้ายชีวิตที่เป็นปรกติสุขตามธรรมชาติอยู่แล้วนั้นในความคิดผมเห็นว่า ผิดต่ออริยมรรคที่มีองค์แปด ในเรื่องของ “สัมมาอาชีโว” อย่างยิ่ง ดังนั้นทางสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม-ฟีโบ้ จึงเลือกอีกแนวทางที่ “ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น” หันมาออกแบบและสร้าง “หุ่นยนต์ปลา” ผ่านการวิเคราะห์และหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเคลื่อนที่ของปลาทูน่า(Thunniform) ผู้วิจัยคือคุณวิฑูร จูวราหะวงศ์ และ ดร. สโรช ไทรเมฆ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
สถิติคนอเมริกันมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ถึง 6% ผมเดาว่าสำหรับพวกเราคนไทยสถิติคงใกล้เคียงกันแม้ว่าอาหารไทยมีกากมากกว่าแต่ก็มีอย่างอื่นที่ไม่พึงปรารถนาเป็น “ของแถม” มาให้ด้วย เพื่อนผมคนหนึ่งซื้อปูทะเลที่ชายหาดแล้วลืมทิ้งไว้หลังรถถึงสามวัน ปูยังไม่เน่าเลย คงจะอุดมไปด้วยสารฟอร์มาลีนที่ใช้ดองศพนั่นเอง ดังนั้นเพื่อรับรู้สุขภาพลำไส้ใหญ่ของเราจึงมีการแนะนำให้ไปหาหมอตรวจทุกปีเมื่ออายุครบ 35 ปี
การแก้ไขที่ต้นเหตุนั้นต้องกวดขันและให้ความรู้เรื่องนี้ต่อผู้ประกอบการอาหารให้มีความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบทลงโทษเป็นเรื่องสำคัญ ผมสังเกตว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเข้มงวดเรื่องนี้เมื่อใด ประชาชนก็อุ่นใจแซ่ซ้องสรรเสริญ จึงหวังว่าความเข้มงวดยังคงอยู่ไม่แผ่วหย่อนยานไป นักอุตสาหกรรมไทยที่ไปลงทุนที่ประเทศจีนบอกผมว่า รัฐบาลบ้านเมืองเขาเอาจริงเอาจังเรื่องนี้มาก เห็นอยู่บ่อยครั้งที่ทางการ สั่ง “ปิดตาย” อย่างถาวร ภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่มีเชื้อโรคและสารเคมีปนเปื้อน นักเทคโนโลยีหุ่นยนต์อย่างผมไม่รู้เรื่องอาหารและเชื้อโรคอย่างลึกซึ้งพอที่สามารถไปแก้ที่ต้นเหตุ จึงขอประยุกต์ใช้เทคโนโลยีช่วยตรวจสอบระยะเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมใช้หุ่นยนต์ไปผ่าตัดเนื้อร้ายออกมาจนผู้ป่วยปลอดภัย
นักเทคโนโลยีหุ่นยนต์อย่างผมไม่รู้เรื่องอาหารและเชื้อโรคอย่างลึกซึ้งพอที่สามารถไปแก้ที่ต้นเหตุ จึงขอประยุกต์ใช้เทคโนโลยีช่วยตรวจสอบระยะเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมใช้หุ่นยนต์ไปผ่าตัดเนื้อร้ายออกมาจนผู้ป่วยปลอดภัย
อันที่จริงโอกาสเข้าช่วยเหลือชีวิตมนุษย์สร้างบุญกุศลครั้งนี้ของผม เกิดขึ้นเนื่องจากทุนการศึกษาฟุลไบรท์ที่ผมได้รับไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน เพราะค่าลงทะเบียนของมหาวิทยาลัยนี้แพงที่สุดในสหรัฐอเมริกา ผมจึงต้องหารายได้เพิ่มเติมจาก “ทุนผู้ช่วยวิจัย” มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาจะมีทุนประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดโครงงานวิจัยสร้างหุ่นยนต์ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ ไม่มีนักศึกษาคนใดต้องการทำเลย อาจเป็นเพราะว่าอุปกรณ์หุ่นยนต์นี้ต้องผ่านช่องทาง “อวัยวะ” ที่เป็นคำสบถ ที่เขาใช้ด่ากันก็เป็นได้
ผมเดินทางไปเก็บข้อมูลหน้างาน ที่โรงพยาบาลเชดดี้ไซด์ เมืองพิตส์เบิกรก์ อยู่เกือบสองเดือน เรื่องเก็บข้อมูลหน้างานนี้ถือเป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผมจะย้ำแก่ลูกศิษย์ผมเสมอว่า วิศวกรและนักเทคโนโลยีที่ดี อย่ามัวเพ้อเจ้อใช้เวลาใหญ่อยู่กับคอมพิวเตอร์ แล้วใช้ ”จิตปรุงแต่ง”จนหลุดขาดจากสภาวะความเป็นจริงไป
สิ่งที่ผมได้เห็นนั้น น่าเวทนายิ่งนัก เพราะเพียงแค่ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน:เอ็นโดสโครป ในการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อค้นหา เนื้องอกระยะเริ่มต้นที่ลักษณะคล้ายหูด คนไข้ก็ทรมานมากแล้ว ลำไส้นั้นเป็นสิ่งมีชีวิต มีอาการตอบสนองแบบลูกคลื่น พยายามผลักดันอุปกรณ์แปลกปลอมนี้ออกไป อาการตอบสนองลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ช่วยให้อาหารที่เรากลืนเข้าไปเคลื่อนสู่กระเพาะได้แม้ว่าเราตีลังกากลับหัวก็ตาม แต่ผมแนะนำว่าน้องๆอย่าไปทดลองนะครับเดี๋ยวพลาดแล้วอาหารติดช่องลมจะอันตราย นอกจากการตอบสนองดังกล่าวแล้ว บางครั้งลำไส้ก็จะรัดอุปกรณ์นั้นไว้แน่นไม่ให้คุณหมอขยับเขยื้อนเอ็นโดสโครปได้เลย ผมเห็นคนไข้บางคนมีอุปกรณ์นี้ติดคาไว้ที่ช่องทวารหนัก ต้องนอนรอถึง 2 ชั่วโมง จนลำไส้เลิกพยศ คุณหมอจึงดึงอุปกรณ์ออกมาได้ ผลข้างเคียงจากธรรมชาติของลำไส้นี้ ยังทำให้เกิดการระคายเคืองของผนังลำไส้จนอาจอักเสบมีเลือดไหลภายในได้
จากข้อมูลข้างต้นนี้ ผมจึงมีแนวความคิดที่แตกต่างจากนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่เชื่อว่าหุ่นยนต์งูประกอบด้วยข้อปล้องมากๆสามารถเลื้อยเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจหาและผ่าเอาเนื้องอกออกมาได้ หุ่นยนต์งูลักษณะนี้มีความแข็งและความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับท่อยางของเอ็นโดสโครป อาการ “รัดรึงและผลักดัน” สลับกันไป ก็ยังคงมีอยู่ เมื่อผนวกกับการควบคุมแบบแอคตีฟ จะทำให้หุ่นยนต์งูขาดเสถียรภาพในการเคลื่อนไหว เหวี่ยงตัวไปมาทำอันตรายต่อผนังลำไส้หนักขึ้นไปอีก
แทนที่จะเป็นหุ่นยนต์งู เหมือนกับนักวิจัยอาวุโสชั้นนำของโลกหลายท่าน ผมได้ออกแบบ “หุ่นยนต์ไส้เดือน” ลดความซับซ้อนด้านการควบคุมจาก 18 ปล้อง มาเป็นเพียงแค่ สององศาอิสระ กล่าวคือได้ออกแบบโครงสร้างภายในเป็นกล้ามเนื้อหลัก สามารถทำให้แข็งและอ่อนได้ด้วยการดึงลวดเพียงเส้นเดียว เมื่ออยู่ในสภาวะแข็งปลอกยางภายนอกจะเคลื่อนที่สไลด์บนกล้ามเนื้อตามทิศทางที่มองผ่านกล้องไฟเบอร์ออฟติก ที่ปลาย Distal End. จนเคลื่อนที่ไปได้ระยะสั้นๆ 1-2 ซ.ม.จึงหยุด
จากนั้นระบบจะลดแรงตึงของลวดทำให้กล้ามเนื้อหลักอ่อนตัวลง ปลอกยางก็จะวางตัวแนบชิดกลับผนังลำไส้เป็นการก๊อปปี้รูปร่างของลำไส้อย่างอัตโนมัติ ต่อมากล้ามเนื้อหลักจะเคลื่อนตัวเอง 1-2 ซ.ม. เพื่อเทียบระยะตำแหน่งของปลอกยาง เป็นอันจบหนึ่งรอบของการทำงานแล้วจึงเริ่มใหม่ซ้ำๆ กันไป การเคลื่อนที่จึงมีลักษณะแบบไส้เดือนที่เราพบเห็นกันอยู่
ในกรณีที่ลำไส้ โดยเฉพาะ ส่วนของ Traverse Colon พยศอาละวาด ระบบจะปลดแรงตึงทันที ทุกส่วนของหุ่นยนต์ก็เคลื่อนไหว “เต้น” ไปตามลำไส้ จนลำไส้เขาเหนื่อย หุ่นยนต์จึงเริ่มทำงานต่อไป หลักการ “นิ่งสงบการเคลื่อนไหว” นี้ ผมยืมมาจากเคล็ดวิชา “ไทเก็ก” นั่นเอง เมื่อเจอตำแหน่งเนื้องอก คุณหมอก็จะสอดกรรไกรหรือมีดผ่าตัดขนาดจิ๋วผ่านเข้าไปปฏิบัติการเช่นเดียวกันกับอุปกรณ์เอ็นโดสโครปมาตรฐานทั่วๆไป
ผมเขียนบทความเทคนิคอย่างละเอียด ลงใน Computer Integrated Surgery, Technology and Clinical Application, จัดพิมพ์โดย MIT Press. และเนื่องจากเป็นความคิดแปลกใหม่ งานประดิษฐ์ชิ้นนี้จึงได้รับ US Patent ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น